IamTrang.com
 
IamTrang.com
KNOWLEDGE
PEOPLE
PLACE
PRODUCT & SERVICE
RESOURCE
ACTIVITY
LIFESTYLE
NEWS & EVENT
หน้าแรก  >  มรดกทางธรรมชาติและมรดกทางวัฒนธรรม  >  มรดกวัฒนธรรม-ภาษาและวรรณกรรม-ภาษา

มรดกวัฒนธรรม-ภาษาและวรรณกรรม-ภาษา

     ภาษา  ในการศึกษาทางด้านภาษาศาสตร์ ภาษาถิ่นตรังจัดอยู่ในกลุ่มภาษาภาคใต้ตอนกลางและเขตพื้นที่ฝั่งทะเลตะวันออก ร่วมกับภาษากระบี่ พัทลุง นครศรีธรรมราช และสงขลาบางอำเภอ (ระโนด สทิงพระ กระแสสินธุ์)  ภาษาถิ่นตรังมีลักษณะสำคัญเช่นเดียวกับภาษาถิ่นใต้โดยทั่วไป กล่าวคือ มีสำเนียงพูดห้าวและห้วน ขาดหางเสียง มักตัดคำหลายพยางค์ให้เหลือน้อยพยางค์ เช่น นาฬิกา-นากา มะละกอ-ลอกอ ตระเวน-เหวน ละออง-ออง กระบี่-บี่ สุราษฎร์ธานี-สุราษฎร์ เป็นต้น มีคำศัพท์ใช้เฉพาะถิ่น เช่น คำว่า เล็ก ใช้ว่า นุ้ย เอียด เท่าหิด เท่าติ๊ก คำว่า ใหญ่ โต ใช้ว่า เถ้า เถ้าถำ เติบ ไอ้ถำมัง คำว่า มาก ใช้ว่า ลุย กะลุย กะลักกะลุย กองลุย กองเอ จังหู จ้าน ครัน ได้สักไหนไหน เป็นต้น
     ภาษาถิ่นตรังมีหน่วยเสียงที่แตกต่างกับภาษาถิ่นกรุงเทพฯ คือภาษาถิ่นตรังมีหน่วยเสียงวรรณยุกต์ ๗ หน่วยเสียง  มีหน่วยเสียงพยัชนะต้น นาสิก/ญ/ เช่น คำว่า ใหญ่หญิง มีหน่วยเสียงพยัชนะต้นประสม /มล/มร/ เช่น คำว่า เมลิน (เมลิน) หมายถึง ลืมตา เมลิ่น (เมลิ่น) หมายถึง ลื่น มรน (มรน) หมายถึง คำราม แหมรด (แหมรด) หมายถึง มาก สลอน เต็มไปหมด เป็นต้น และชาวตรังมักออกเสียงพยัชนะต้นสลับกันระหว่าง /ก/ /ค/ /จ/ /ช/ /ต/ /ท/ /ป/ /พ/ /อ/ /ฮ/ มักออกเสีง /ง/ เป็น /ฮ/ /ตร/ เป็น /ช/ นอกจากนี้ยังมีหน่วยเสียงสระที่ใช้แตกต่างกับภาษาถิ่นกรุงเทพฯ อีกหลายหน่วยเสียง เช่น  
   
                                         ภาษาถิ่นกรุงเทพฯ                ภาษาถิ่นตรัง
     /อะ/-/อา/                               ฉัน                                      ฉาน
     /อุ/-/โอ/                                 จุ                                        โจ้
     /อิ/-/อี/                                   หิน                                      หีน
     /เอาะ/-/ออ/                           เจาะ                                    จ้อ
     /เอะ/-/อิ/                               เหม็น                                   หมิน
     /อะ/-/แอะ/                             ควัก                                    แคว็ก
     /โอะ/-/เอาะ/                          หมด                                    หม็อด
     /เอะ/-/แอะ/                           เด็ก                                      แด็ก
     /อี/-/เอ/                                 มีด                                       เมด
     /เอือ/-/เอีย/                           เชือด                                   เชียด
                                                  ฯลฯ


     ในด้านวรรณกรรมของตรังนั้น  ก็มีทั้งวรรณกรรมมุขปาฐะและวรรณกรรมลายลักษณ์ เช่นเดียวกับวรรณกรรมภาคใต้ทั่ไป  วรรณกรรมมุขปาฐะ  ซึ่งเป็นวรรณรรมที่เล่าสืบต่อกันมาด้วยวิธีจดจำ เช่น ปริศนาคำทาย สำนวนภาษิต เพลงกล่อมเด็ก นิทานพื้นบ้าน บทหนังตะลุง มโนราห์ คำคล้องจอง ร้องเล่น บทรองเง็ง บทลอเกป่า เป็นต้น และวรรณกรรมลายลักษณ์ ซึ่งเป็นวรรณกรรมที่มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน เช่น ตำราหมอดูศาสตรา คำประกอบพิธีกรรม วรรณกรรมนิทาน วรรณกรรมตำนานและประวัติศาสตร์ เป็นต้น แต่ในที่นี้จะกล่าวละเอียดเพียงวัฒนธรรมทางภาษาและวรรณกรรมตรัง ที่มีลักษณะเด่นเฉพาะถิ่นตรังเท่านั้น ดังต่อไปนี้

 
 
 

จำนวนครั้งที่เปิดอ่าน: 24080
นำเสนอโดย: Peekung
 

Share
IamTrang.com
: :: ชอบ-ชม-ชิม โดย วีร์วิศ
: :: เรื่องเล่าของอิงตะวัน โดย อิงตะวัน
: :: แต่งบ้าน-งานดีไซน์ โดย มะลิริน
: :: จิตเป็นนาย โดย นะโม

 


 
iamtrang.com
iamtrang.com ออกแบบจัดทำและผลิตเนื้อหา+ภาพ โดย บริษัท ดีพี สตูดิโอ จำกัด เลขที่ 32 สุขุมวิท 85 บางจาก พระโขนง กรุงเทพฯ 10260
โทร. 02-3311610 โทรสาร 02-3311618 Email: dp@dp-studio.com
Copyright 2009 IamTrang.com All rights reserved สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย